ไซบูทรามีน ภัยอันตรายของอาหารเสริม
ในบรรดาสารอันตรายในอาหารเสริม สารตัวแรก ๆ ที่ถ้าเจ้าของแบรนด์และโรงงานรับผลิตอาหารเสริมคิดถึงก็คือ ไซบูทรามีน ภัยอันตรายของอาหารเสริม โดยมีคำเตือนมากมายว่ามันถูกแฝงเข้าในอาหารเสริมลดน้ำหนัก โดยอาหารเสริมลดน้ำหนักที่มีสารไซบูทรามีนผสมอยู่นั้น จะอยู่ในโรงงานอาหารเสริมที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีความปลอดภัย โดยในการรับผลิตอาหารเสริมนั้นจะมีการแอบใส่ลงไปโดยที่เจ้าของแบรนด์ไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัวสินค้าก็ถูกจำหน่ายไปแล้วนั่นเอง โดยในวันนี้เราจะทำความรู้จักสารไซบูทรามีนกัน
ไซบูทรามีนคืออะไร
ไซบูทรามีน เป็นสารเคมีอินทรีย์มีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายเกลือหรือน้ำตาล ไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ลดการทำลายสารสื่อประสาทอย่าง ซิโรโทนิน, นอร์อีพิเนฟรินและโดปามีนทำให้สารเหล่านี้ทำงานนานขึ้น จึงส่งผลทำให้รู้สึกไม่หิวหรืออิ่มเร็วขึ้น
ทำไมถึงใส่ไซบูทรามีนในอาหารเสริมลดน้ำหนัก
ยาไซบูทรามีนนั้น ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาในปี 2540 ว่าช่วยลดน้ำหนัก และลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ แต่จัดเป็นยาที่ได้รับการควบคุมดูแลเป็นพิเศษ และแพทย์จะต้องเป็นผู้พิจารณาการใช้ยาเพื่อรักษาโรคอ้วนในผู้ป่วยรายที่จำเป็นเท่านั้น
ไซบูทรามีนนั้นอันตรายอย่างไร
จากการศึกษาภายหลังนั้นพบว่า ไซบูทรามีนทำให้ภาวะไตวาย มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดตีบตัน และอาจจะทำให้ถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้นในปี 2553 ทางประเทศในยุโรปจึงประกาศยกเลิกใช้ยานี้ รวมถึงในประเทศไทยด้วยได้มีการเรียกเก็บยาที่มีสารไซบูทรามีนออกจากท้องตลาด และยกเลิกทะเบียนยาไซบูทรามีน ทำให้การพบไซบูทรามีนในอาหารเสริมนั้นเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายที่ผู้ผลิตจงใจหลีกเลี่ยงและแอบใส่ในผลิตภัณฑ์ เพื่อหวังในผลลัพธ์ที่ดี แต่ไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของผู้บริโภคในภายหลัง
อาการที่พบหลังทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน
- ปากแห้ง
- รับรู้ถึงรสชาติที่แปลก ๆ แปร่ง ๆ ลิ้น
- คลื่นไส้ หรืออาเจียน
- ท้องผูก
- นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท กระสับกระส่าย
- วิงเวียนศีรษะ
- ปวดศีรษะ
- ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามแขน ขา ตัวและตามข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย
อาการที่พบหลังจากบริโภคไซบูทรามีนเป็นเวลานาน
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- เกิดภาพหลอน หรืออาการที่เกี่ยวข้องกับจิตประสาท
- เกิดภาวะไตวาย
- ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ
- มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดตีบตัน
อย่างที่เห็นว่าไซบูทรามีนนั้นมีอันตรายต่อผู้บริโภคมากแค่ไหน ดังนั้นสำหรับเจ้าของแบรนด์ที่กำลังจะทำงานผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนักนั้น ควรที่จะพิจารณาโรงงานที่รับผลิตอาหารเสริมที่ได้คุณภาพ มาตรฐานและปลอดภัย โดยจะต้องตรวจสอบโรงงานอาหารเสริมอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยต่อสินค้าและผู้บริโภค