ทานวิตามินอะไรดี เมื่อร่างกายเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
ในชีวิตประจำวันของเราจะต้องเจอกับอะไรสารพัด ไม่ว่าจะเป็นเดินทางไปทำงาน การทำงานที่ตลอดทั้งวัน ไหนจะเดินทางกลับอีก บ้างคนพอเลิกงานก็ยังต้องไปออกกำลังกาย มันก็มีบ้างที่ร่างกายของเรานั้นจะเหนื่อยล้า หรืออ่อนเพลีย เพราะร่างกายก็ไปกับเราทุกกิจกรรมที่เราทำ แต่นี่ก็เป็นแค่เพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น แต่อีกสาเหตุที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การขาดสารอาหารหรือวิตามิน
โดยเวลาที่ร่างกายของเรานั้นขาดสารอาหารหรือวิตามินตัวใดตัวหนึ่งก็สามารถทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ ถ้าร่างกายได้รับพลังงานหรือโปรตีนที่ไม่เพียงพอนั้นจะทำให้เกดอาการเซื่องซึม เหนื่อยหน่าย เหมือนคนไร้ความรู้สึก จนกระทั่งระบบภูมิต้านทานถูกกระทบไปด้วย ก็จะทำให้มีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าได้เช่นกัน ซึ่งเราวันนี้เราจะพาไปดูวิตามินและสารอาหารต่าง ๆ ที่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า มาฝากกันจะมีวิตามินไหนบ้างนั้นไปดูกันเลย
วิตามินบี
วิตามินบีที่จำเป็นต่อการผลิตพลังงานจากอาหารคือ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 กรดแพนโทธีนิก และไนอะซิน ซึ่งถ้าร่างกายขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งในกลุ่มนี้ไปนั้น อาจจะทำให้มีความรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง นอนไม่หลับ
แล้วถ้าร่างกายเราได้รับวิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 กรดโฟลิก และไบโอตินไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ซึ่งจะมีอาการอ่อนเพลีย เซื่องซึม เฉื่อยช้า ขาดสมาธิ ออกแรงนิดหน่อยก็แทบจะเป็นล้มพับไปเลย โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี ได้แก่ นักกีฬา คนที่ลดน้ำหนักด้วยระดับแคลอรี่ที่ต่ำมาก ๆ ผู้หญิงตั้งครรภ์ และคนที่ทายมังสวิรัติ
วิตามินซี
เคยมีรายงานการวิจัยว่า คนที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 100 มิลลิกรัมนั้น จะมีอาการอ่อนเพลีย ต่างจากคนที่ได้รับวิตามินซีวันละ 400 มิลลิกรัมนั้นแทบจะไม่รู้สึกกับอาการอ่อนเพลียเลย อาหารที่มีวิตามินซีสูงอาจจะช่วยแก้ไขอาการอ่อนเพลียได้โดยการช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ต่อต้านการติดเชื้อ วิตามินซียังมีหน้าที่ในการช่วยเปลี่ยนกรดแอมิโนชนิดทริปโดแฟนเป็นเซโรโทนิน ที่จะช่วยควบคุมการ อาการซึมเศร้า และความรู้สึกเจ็บปวด
ธาตุเหล็ก
การที่เราทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกายไม่เพียงพอหรือการดูดซึธาตุเหล็กไม่ดีนั้น จะทำให้ธาตุเหล็กจากเนื้อเยื่อถูกดึงมาใช้ เซลล์จะค่อย ๆ ขาดออกซิเจน ผลที่เกิดตามมาคือกล้ามเนื้ออ่อนแออ่อนเพลีย ซึ่งปัญหาการขาดธาตุเหล็กนั้นก็ยังเป็นอีกปัญหาใหญ่ของผู้หญิงซึ่งจะมีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางได้ จากข้อมูลของ ดร.เฟอร์กัส ไคลเดสดัล พบว่า อาหารที่สมดุลจะให้ธาตุเหล็ก 6 มิลลิกรัมต่อพลังงาน 1,000 แคลอรี่ ซึ่งผู้หญิงจะต้องทานอาหารให้ได้อย่างน้อย 3,000 แคลอรี่ เพื่อให้ได้ธาตุเหล็กที่เพียงพอ
แต่ถ้าจะทานจริงจะมีปัญหาโรคอ้วนกันหมด ฉะนั้นผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีโภชนาการที่ดีจะได้ธาตุเหล็กประมาณวันละ 8 – 10 มิลลิกรัมจากอาหาร แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงคือ ปลา เป็ด ไก่ อาหารทะเล ไข่แดง และอาหารเช้าซีเรียล
แมกนีเซียม
แร่ธาตุตัวนี้นั้นมีหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันให้เป็นพลังงาน ซึ่งการขาดแมกนีเซียมทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ เบื่ออาหาร และเกิดอาการซึมเศร้าได้ โดยอาหารที่มีแมกนีเซียมคือ ธัญพืชไม่ผ่านการขัดสี อัลมอนด์ และถั่ว