Hypersomnia ทำไมนอนเยอะแค่ไหนก็ไม่พอ

Hypersomnia ทำไมนอนเยอะแค่ไหนก็ไม่พอ

หลายคนอาจจะเคยรู้สึกว่าหลังจากนอนหลับนานถึง 10 ชั่วโมงแล้ว แต่ตื่นมาก็ยังรู้สึกง่วงและเพลียเหมือนเดิม นี่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่หลายคนอาจไม่รู้ตัว วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอาการ “นอนนานแต่ยังง่วง” หรือ Hypersomnia

ทำความรู้จัก Hypersomnia

Hypersomnia คืออาการที่ทำให้รู้สึกง่วงมาก แม้จะนอนหลับนานถึง 9 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมักมีอาการตื่นยากและรู้สึกไม่สดชื่นเมื่อ wake up ซึ่งแม้จะดูเหมือนเป็นอาการง่วงนอนธรรมดา แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่อันตรายต่อร่างกายได้ ถ้าสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางรักษาที่เหมาะสม

Hypersomnia มีอาการอย่างไร

อาการของโรค Hypersomnia คือการ “ง่วงนอนตลอดเวลา” แต่รู้ไหมว่าจริง ๆ แล้วยังมีอาการอื่น ๆ ที่เควรสังเกตด้วย เช่น:

  • ตื่นนอนยาก
  • รู้สึกง่วงตลอดเวลา
  • หงุดหงิดง่ายตลอดทั้งวัน
  • ความจำไม่ค่อยดี หรือรู้สึกติดขัดเวลาใช้ความคิด
  • มีอาการวิตกกังวล หรืออาจเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคไบโพล่า
  • งีบหลับบ่อย ๆ หรือแอบหลับในระหว่างวัน
  • หลับโดยไม่รู้ตัวในช่วงที่ไม่ควรจะนอน อาจเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ

สาเหตุของอาการ Hypersomnia

สาเหตุของอาการ Hypersomnia มีทั้งปัจจัยทางร่างกายและจิตใจที่สามารถกระทบต่อการนอนหลับ เราได้รวบรวมสาเหตุที่พบบ่อยมาให้เช็กกันดังนี้

  • การนอนหลับไม่เพียงพอเป็นเวลานาน
  • การปรับเวลานอนไม่เหมาะสม เช่น เข้านอนดึก ตื่นเช้าเกินไป
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การหลั่งฮอร์โมนหรือสารในสมองที่ผิดปกติ
  • ความผิดปกติของสมอง เช่น โรคเกี่ยวกับระบบประสาท หรือสมองเคยได้รับอุบัติเหตุ
  • ความผิดปกติในช่วงการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) หรือการนอนกรน

ผลเสียของการนอนมากเกินไป

ใคร ๆ ก็ชอบการนอนหลับยาว ๆ แต่รู้ไหมว่าการนอนมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ไม่ต่างจากการนอนน้อยเลย วันนี้เรารวบรวมปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการนอนมากเกินไปมาให้ดูกัน

  • โรคอ้วน: การนอนมากทำให้ระบบเผาผลาญไขมันลดลง เกิดการสะสมไขมันในร่างกาย นำไปสู่โรคอ้วน โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
  • ภาวะสมองล้า: การนอนมากทำให้รู้สึกเฉื่อยช้า เซื่องซึม คิดอะไรไม่ออก ส่งผลต่อการทำงานและบุคลิกภาพ
  • ภาวะหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน: การนอนมากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจเฉียบพลันในระหว่างหลับ ซึ่งส่งผลให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเกิดโรคใหลตายได้
  • โรคกระดูกพรุนและปัญหาข้อ: การนอนนานเกินไปทำให้ร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหว กระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอ เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและปัญหาเกี่ยวกับข้อ
  • ภาวะมีบุตรยาก: การนอนที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนเพศหญิงผิดปกติ ทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานไม่สมดุล
  • โรคซึมเศร้า: การนอนมากเกินไปอาจทำให้การหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น เอนดอร์ฟิน และเซโรโทนินลดลง ทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าและเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า
  • เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเร็วขึ้น: การนอนนานเกินไปทำให้ร่างกายขาดการเคลื่อนไหว ออกซิเจนไหลเวียนไม่ทั่วถึง ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง

แหล่งที่มา : sistacafe.com